(พ.ศ.2524-พ.ศ.2530)
คณะอุตสาหกรรมเกษตรถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2524 เป็นภาควิชาหนึ่งของคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีรองศาสตร์ตราจารย์ ดร.ศุภชัย รตโนภาส เป็นคณบดีในสมัยนั้น เมื่อครั้งแรกภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรมีอาจารย์ประจำภาควิชา 3 ท่าน ได้แก่ อาจารย์อนงค์ วรอุไร รองศาสตราจารย์ ดร.ระติพร หาเรือนกิจ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ตั้งเจริญชัย (คณบดีคนปัจจุบัน) เปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรก ปี พ.ศ. 2526 ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 10 คน โดยใช้อาคารปฏิบัติการแปรรูปอาหาร ( Processing 1 ) ซึ่งเป็นอาคารปฏิบัติการหลังใหม่ของภาควิชา เพื่อใช้เป็นที่สำหรับการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ อาคารหลังนี้ตั้งอยู่บริเวณริมทางรถไฟใกล้สถานีหัวตะเข้และปัจจุบันอาคารดังกล่าวยังใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนอยู่ ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรมีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2528 ได้เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการเติบโตของภาควิชาทั้งในด้านกำลังคน และ จำนวนนักศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ภาควิชาได้ย้ายสำนักงานไปยังอาคารเรียนหลังใหม่ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (ตึก L) ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของ “โอกาส” ในการพัฒนาด้านการเรียนการสอนที่ต้องพึ่งพาห้องปฏิบัติการเป็นปัจจัยสำคัญ
(พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2537)
จากนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะในเรื่องของอาหาร (พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2538) และ ส่งผลต่อความต้องการกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารมากขึ้น ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรได้มีส่วนร่วมในการผลิตบัณฑิตเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศโดยเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีการหมัก และสาขาวิศวกรรมแปรรูปอาหาร รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถด้านงานวิจัยด้วยการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร ที่สามารถนำงานวิจัยไปใช้แก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรที่ล้นตลาดในประเทศ และพัฒนาบุคลากรเพื่อตอบสนองความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
(พ.ศ.2538 – พ.ศ.2544)
การพัฒนาของภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรในช่วงนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงของการก้าวกระโดดเนื่องจากความต้องการบัณฑิตด้านอุตสาหกรรมอาหารมีมากยิ่งขึ้น ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรจึงได้เปิดโครงการผลิตบัณฑิตภาคพิเศษระดับปริญญาตรีในหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี และหลักสูตร 4 ปี และได้รับการสนับสนุน ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ในด้านการเรียนการสอนและวิจัยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรมีขีดความสามารถการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลงานวิจัยที่ได้รับการจดสิทธิบัตร พ.ศ. 2543 “สิทธิบัตรการประดิษฐ์กระบวนการผลิตข้าวสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง” ของรองศาสตราจารย์ ดร.วุฒิชัย นาครักษา นอกจากนี้ภาควิชายังได้รับความร่วมมือผ่านกระทรวงต่างประเทศในการร่วมวิจัยด้านข้าว กับNanchang University ประเทศจีนอีกด้วย
ในปี พ.ศ.2544 คณะอุตสาหกรรมเกษตรได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาสุขาภิบาลอาหาร ซึ่งเป็นหลักสูตรด้านอาหารปลอดภัย และซึ่งมีความจำเป็นต่อบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมอาหาร นับว่าเป็นหลักสูตรพิเศษซึ่งเป็นที่ต้องการของภาคเอกชนอย่างแท้จริงที่ต่อยอดองค์ความรู้ทางอุตสาหกรรมอาหาร
(พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2550)
จากการพัฒนาประเทศที่อาศัยพื้นฐานข้อได้เปรียบของความสมบูรณ์ของทรัพยากรอาหาร เพื่อสร้างความเป็นเลิศด้วยนโยบายการให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก (Kitchen of the world) รวมทั้งผลิตอาหารปลอดภัย ทำให้ในปี พ.ศ.2547 โครงการคณะอุตสาหกรรมเกษตรได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร และ หลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการและบริการอาหารมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ไต้หวัน เกาหลี นักศึกษาได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศ เช่น Mokpo National University ในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก
(พ.ศ.2551-ปัจจุบัน)
คณะอุตสาหกรรมเกษตรมีการพัฒนาของทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องมีความร่วมมือกับองค์กรด้านอาหารทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ จวบจน ปี พ.ศ.2552 คณะผลิตผลงานวิจัยหลายโครงการที่มีความโดดเด่นและสร้างมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตรที่มีความสำคัญของประเทศ ได้แก่ งานวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทย-เกาหลี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากข้าวกล้องงอก งานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากข้าวโพดฝักอ่อน และงานวิจัยการผลิตน้ำส้มสายชูจากข้าวอินทรีย์
นอกจากนี้คณะอุตสาหกรรมเกษตรยังให้ความสำคัญต่อการยกระดับความเป็นสากลของการเรียนการสอน และงานวิจัยโดยนักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตร วิทยาศาสตร์การอาหารได้ร่วมงานวิจัยในต่างประเทศ ได้แก่ งานวิจัยสารต้านอนุมูลอิสระจากกระเจี๊ยบ ที่ National Pingtung University ประเทศไต้หวันงานวิจัยการเปลี่ยนแปลงกลิ่นของผลส้มที่เคลือบด้วยสารเคลือบแตกต่างกัน ที่ Catholic University of Leuven ประเทศเบลเยี่ยม และร่วมวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญด้านเพื่อศึกษาสารประกอบที่ให้กลิ่นจากเทียนอบสำหรับกลิ่นของขนมไทย University of Illiois at Urbana Champaign ประเทศสหรัฐอเมริกา และงานวิจัยด้านน้ำมันและไขมันที่ University of Georgia at Athens ประเทศสหรัฐอเมริกา
หลักสูตรปริญญาโท | ||||||||||
การจัดการความปลอดภัยอาหาร | ||||||||||
สาขาการจัดการความปลอดภัยอาหาร | ||||||||||
|
||||||||||
รายละเอียดหลักสูตร ปรัชญา ผลิตบุคลากรที่มีทักษะ ความรู้ และมีการบูรณาการความคิดอย่างมีเหตุผลในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยอาหารโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระบบคุณภาพ และการจัดการความปลอดภัยของอาหารไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหาร อีกทั้งเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของอุตสาหกรรมอาหารในประเทไทยให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ และไม่มีขีดจำกัดในการแข่งขันการค้าอย่างเสรี ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการความปลอดภัยอาหาร (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science Program in Food Safety Management ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการความปลอดภัยอาหาร) (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Food Safety Management) ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (การจัดการความปลอดภัยอาหาร) (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc.(Food Safety Management) จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 2 41 หน่วยกิต
|
||||||||||
วิทยาศาสตร์การอาหาร | ||||||||||
สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร | ||||||||||
|
||||||||||
รายละเอียดหลักสูตร ปรัชญา ผลิตบุคลากรที่มีทักษะ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและสามารถดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร มีศักยภาพในการศึกษาและค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์เชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ และสามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์การอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science Program in Food Science ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การอาหาร) (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Food Science) ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (วิทยาศาสตร์การอาหาร) (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Food Science) จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
|
||||||||||
เทคโนโลยีการจัด และ บริการอาหาร | ||||||||||
สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัด และ บริการอาหาร | ||||||||||
|
||||||||||
รายละเอียดหลักสูตร ปรัชญา การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมาประยุกต์ใช้ร่วมกับศิลปะของการประกอบอาหารและการบริหารจัดการ จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องในการจัดและบริการอาหารอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดและบริการอาหาร (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science Program in Food Service and Catering Technology ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการจัดและบริการอาหาร) (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Food Service and Catering Technology) ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (เทคโนโลยีการจัดและบริการอาหาร) (ภาษาอังกฤษ) : M.S.c (Food Service and Catering Technology) จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 2 41 หน่วยกิต
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซด์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หากต้องการแนะนำปรับปรุงข้อมูล หรือแนะนำสาขาวิชา คณะวิชา/สถาบัน ประชาสัมพันธ์ข่าวรับสมัครเข้าศึกษา อบรม ประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษา โปรดติดต่อ |
Powered by Facebook Like